สมเด็จจิตรลดา(พระในหลวง) รุ่น 2 วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ปี 2539

          สมเด็จจิตรลดา(พระในหลวง) รุ่น 2 วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ปี 2539

พระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดินรุ่น 2 วัดบวรฯ ปี 2539 พิมพ์กรรมการเล็ก พุทธคุณเหมือนได้ใช้สมเด็จจิตรลดารุ่นแรก มีมวลสารจิตรลดาพระราชทาน พร้อมด้วยมวลสารสำคัญอื่นอีกเช่น วัดระฆัง บางขุนพรหม เกศาสมเด็จฯ ฯลฯ องค์นี้สภาพสวยครับ พร้อมกล่องเดิมๆจากวัดเลยครับ พิธีใหญ่ สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จเป็นประธานในพิธี พร้อมพระเกจิชื่อดังร่วมในพิธีเช่น หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย หลวงพ่อรวย วัดตะโก หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ฯลฯ พระกำลังแผ่นดิน มวลสารจิตรลดา กาญจนาภิเศก 50 ปี ชุดกรรมการ ที่ระลึกสร้างอาคารเรียนเทอดพระเกียรติ์ ญสส 84 พรรษา มีลักษณะพิเศษตรงที่ด้านหลังจะเรียบปิดทองคำเปลว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้จัดสร้างพระกำลังแผ่นดินมวลสารจิตรลดา เส้นพระเจ้า และพระราชทานเกษรดอกไม้ โดยเข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร 

พระกำลังแผ่นดินเป็นชื่อที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท เป็นผู้ตั้ง ซึ่งมาจากพระนามและพระฉายาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “ ภูมิพล หรือ ภูมิพโลภิกขุ “ แปลว่า กำลังแผ่นดิน ผู้มีพระกำลังแผ่นดินบูชามาถึงทุกวันนี้ ควรยึดมั่นและสร้างความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆเสมือนการปิดทองหลังพระ โดยการปิดทองหลังพระเปรียบเสมือนสิ่งเตือนใจให้ทุกคนหมั่นสร้างความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆความดีนั้นย่อมปรากฏและสนองต่อผู้ปฏิบัติเป็นสัจธรรม ประวัติโดยย่อพระสมเด็จจิตรลดารุ่นแรก ปี 2508-2513 พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กประมาณ ไม่เกิน ๓,๐๐๐องค์ พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ตั้งแต่ใน พ.ศ.๒๕๐๘ จนสิ้นสุดใน พ.ศ.๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน ๑ คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย ทั้งนี้ มีศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ผู้เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรม เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เพื่อทรงพระราชวินิจฉัย แก้ไข จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย มวลสารที่เรียกว่าเส้นพระเจ้า (พระเกศาของพระมหากษัตริย์) ถือว่าเป็นมวลสารที่สูงค่ายิ่งนัก เพราะเป็นมวลสารที่ทรงใช้ในพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล โดยธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร องค์พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่หน่วยทหารเป็นคราวๆ ละหลายธง โดยประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา พระราชพิธีตรึงหมุด ธงชัยเฉลิมพล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีนี้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลางพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นผู้ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรึงธงแต่ละผืนติดกับด้ามธง โดยทรงตอกฆ้อนเงินลงบนตะปูทองเหลืองอย่างแน่น ธงหนึ่งมีรูตะปูประมาณ 32-35 ตัว ที่ส่วนบนของคันธงจะมีลักษณะเป็นปุ่มโลหะกลึงกลมสีทองภายในกลวง ปุ่มกลมนั้นทำเป็นฝาเกลียวปิด-เปิดได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พร้อมด้วยพระพุทธรูปที่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ชื่อ พระยอดธง ลงในปุ่มกลมแล้วทรงปิดฝาเกลียวขันแน่น ทรงเจิมแป้งกระแจะจันทน์ที่ยอดธงทุกคัน พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ส่วนประสบการณ์ที่เกิดจากการอาราธนาอัญเชิญพระพุทธคุณขององค์พระสมเด็จจิตรลดาไปบูชานั้น บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล พบแต่ความสำเร็จ เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็นและให้ความเกื้อหนุนเสมอ มีพระพุทธานุภาพ คุ้มครอง ให้แคล้วคลาดจากผองภัยพิบัติต่างๆ ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเสมอ “ดุจพระบารมีปกเกล้าซึ่งเหมือนเป็นมงคลแห่งชีวิต”

Visitors: 1,269,697