พระกำแพงซุ้มกอ

                 พระกำแพงซุ้มกอ

พระซุ้มกอกำแพงเพชรจัดเป็นพระเครื่องที่สุดยอดสกุลหนึ่ง และเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ และถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย  พระซุ้มกอกำแพงเพชรเป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่าน108และเกสรดอกไม้และทำจากเนื้อชินเงินก็มี พุทธลักษณะของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นองค์พระแกะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่อง พุทธลักษณะอยู่ในยุคสมัยสุโขทัยนั่งขัดสมาธิมีลวดลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ และนั่งประทับอยู่บนดอกบัวเล็บช้างห้าดอก และส่วนของขอบพิมพ์พระจะโค้งมนมีลักษณะคล้ายๆตัว ก.ไก่ คนรุ่นเก่าๆ จึงเรียกตามลักษณะนี้ว่า “พระซุ้มกอ”


         พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย     

         จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมือง    ชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี  ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี

 

พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์ ประกอบด้วย

1. พิมพ์ใหญ่ จะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้มซึ่งมักจะเรียกกันว่า “พระซุ้มกอดำ” แต่ซุ้มกอดำก็พบมีลายกนกเช่นกันแต่พบน้อย

  1.  พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายาก
  2.  พิมพ์เล็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์กลางลายกนก เพียงแต่เล็กและบางกว่า
  3.  พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงแล้วก็คือพิมพ์ต่างๆของพระซุ้มกอนั่นเองเพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบที่มนออก จึงมองดูคล้ายๆขนมเปี๊ยะ

           พระซุ้มกอกำแพงเพชรทั้งที่มีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยผสมกับ ศิลปะของศรีลังกา โดยเฉพาะพระซุ้มกอที่ไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาหรือศิลปะแบบตะกวนอย่างช ัดเจน

เนื้อของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นจะมีส่วนของดินกลางเมืองซึ่งเป็นดินที่มีความศักดิ์เ พราะถือว่าเป็นดินที่ไม่ถูกเหยียบย่ำผสมกับว่าน 108 และเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของ  พระซุ้มกอกำแพงเพชรมีลักษณะที่นุ่มมันละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณ ะมันวาวขึ้นทันทีและลักษณะของเนื้อพระซุ้มกอกำแพงเพชรที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระนั้นจะปรากฏมีจุดสีแดงเข้มๆ ซึ่งเรียกว่า “แร่ดอกมะขาม” และตามซอกในส่วนที่ลึกขององค์พระซุ้มกอจะมีจุดดำๆ ซึ่งเรียกว่า คราบราดำ หรือ รารัก จับอยู่ตามบริเวณซอกขององค์พระ ดังนั้นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ จึงเป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด

พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นนอกจากจะมีเนื้อดินแล้วยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่าน ล้วนๆก็มีแต่พบเห็นน้อยมากหรือแทบจะไม่พบเห็นเลย

 

พระกำแพงซุ้มกอ กรุกำแพงเพชรส่วนมากที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤๅษี และตลอดทั่วบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และแถวๆบริเวณนอกทุ่งเศรษฐีก็มี

ส่วนพระซุ้มกอกำแพงเพชรที่ไม่มีลวดลายกนกที่มีสีน้ำตาลเข้มนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยา กมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำปนเขียว

สีของพระซุ้มกอกำแพงเพชร จะมีด้วยกันหลายหลายสีขึ้นอยู่กับมวลสารที่ผสมและการเผาที่อุณภูมิต่างกัน เช่นพระที่ถูกเผาด้วยอุณภูมิที่พอเหมาะสีจะออกมาเป็นอิฐมอญส่วนพระที่ถูกเผาด้วยอุณภ ูมิความร้อนที่สูงสีของพระจะออกมาเป็นสีเขียวมอย ส่วนพระที่ถูกเผาด้วยความร้อนน้อยสีจะออกมาเป็นสีดอกพิกุล

1. สีดอกพิกุล  2. สีขมิ้นชัน 3. สีอิฐ  4. สีแดง 5. สีเขียวมอย 6. สีดำ เป็นต้น

 

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

            เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำหริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆกัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา   ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่า นจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร  

ดังนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตจึงได้นำเอาเศษพระกำแพงที่แตกหักมาบดเป็นส่ว นผสมในการสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อโด่งดังไปทั่วประเทศ  เพราะท่านได้สร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอกำแพงเพชร   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระสมเด็จในยุคแรกๆจะมีลักษณะโค้งมนเหมือนกับพระซุ้มกอเพราะว่าพ ระซุ้มกอกำแพงเพชรเป็นต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆังนั่นเอง  

 

จำนวนกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชร

            มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ โดยแบ่งเป็นกรุทุ่งเศรษฐี ทั้งหมด 9 กรุ ได้แก่

  1.  วัดพระบรมธาตุ 
  2.  วัดหนองพิกุล (นิยมเรียกว่า วัดพิกุล)  
  3.  วัดซุ้มกอ หรือ กรุนาตาคำ
  4.  วัดฤๅษี 
  5.  วัดน้อย หรือ กรุซุ้มกอดำ
  6.  บ้านเศรษฐี 
  7.  วัดเจดีย์กลางทุ่ง 
  8.  วัดหัวยาง
  9.  วัดหนองลังกา 

กรุเมืองประมาณไม่ต่ำกว่า 20 กรุ ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ  20 กรุ  ยกตัวอย่างในกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว, กรุวัดพระธาตุ, กรุวัดป่ามืด, กรุวัดช้างล้อม, กรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น

 

 

Visitors: 1,269,697